ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam.
ลักษณะโดยทั่วไปของ มะรุม
มะรุม เป็นพืชประเภทผักพื้นบ้านและเป็นพืชสมุนไพรด้วย โดยมีถิ่นกำเนิดในแถมทวีปเอเชียอย่าง อินเดีย ศรีลังกา มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกง่าน โตเร็ว ทนแร้งทนฝน สามารถนำมาใช้รับประทานหรือใช้เป็นยาสมุนไพรได้หลายส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก ราก
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะตรง มีความสูงที่สุดประมาณ 15 เมตร แตกกิ่งก้านออกเล็กน้อยเป็นพุ่มโปร่ง ๆ เปลือกลำต้นสีขาวอมเทา มีตุ่มขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป เนื้อไม้มีสีอ่อนและเปราะแตกได้ง่าย
- ใบ ออกใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบแทงออกบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะใบมน เรียบ รูปร่างคล้ายไข่กลับ ใบมีความกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 5-6 คู่ และจะมีใบเดี่ยวอยู่ที่ปลายก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่กลับ สีเขียวสด มีความกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตรเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบแทบติดกับก้าน กลางใบกว้างปลายใบมน ใบอ่อนมีสีเขียวสดและจะเข้มขึ้นเมื่อใบเริ่มแก่
- ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ตายอดบริเวณกิ่งหรือที่ปลาบของกิ่ง ช่อดอกมีก้านย่อยออกเยื้องสลับกันไปมา มีดอกย่อยอยู่แต่ละก้านเป็นจำนวนมาก ลักษณะดอกมีสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์ทีมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียว กลีบมี 5 กลีบ ดอกสีขาว ลักษณะกลีบเป็นรูปหอก โคนกลีบสอบแคบ ปลายกลีบมนและมีเกสรอยู่ที่กลางดอก
- ผล ออกผลเป็นฝัก ลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างกลม ผลยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ขั้วผลกว้างมนท้ายผลแหลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ที่ผลจะมีร่องมองให้เห็นชัดเจน รูปผลมีความโค้งเล็กน้อยตามความยาวของฝัก เนื้อฝักแน่นและกรอบ
สรรพคุณและวิธีทำยาสมุนไพรเบื้องต้นของ มะรุม
ทั้งต้น – มีสรรพคุณช่วยต้านเซลล์มะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงข้อ ช่วยในการย่อยอาหาร
ใบ – ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยคุมความดันโลหิต บรรเทาอาการปวดศีรษะ ลดไข้ บำรุงฟัน ช่วยลดอาการแผลอักเสบ หรือใช้รับประทานเป็นอาหารประเภทผักได้
ดอก – มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับน้ำตา ขับปัสสาวะ แก้อาการไข้ และช่วยกำจัดแบคทีเรียในแผลได้
ราก – มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ช่วยเสริมไขข้อ แก้อาการบวมช้ำ
ข้อควรระวัง
สารบางอย่างที่อยู่ในต้นมะรุมนั้นจะมีส่วนผสมบางอย่างที่อาจเกิดสารตกค้างซึ่งจะส่งผลต่อตับในทำงานหนักมากจนเกินไป ทำให้การรับทานหรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของมะรุมจะต้องมีการจำกัดการใช้เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อร่างกาย
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง ร้าน DXFILL พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ dxfills@gmail.com
เครื่องบดสมุนไพรราคา.COM